ร้านค้าหลังโควิด-19 จับเทรนด์ผู้บริโภคด้วย 4 เคล็ดลับ ในวันที่ ดิจิทัล บูม ทรูมันนี่ แนะต้องเน้นคุณภาพบริการ คุณภาพสินค้า ในราคาที่เอื้อมถึงได้
ภายหลังคลายมาตรการหลายระลอก และลูกค้าในหลายธุรกิจเริ่มกลับมา จะเห็นได้ว่าสถานการณ์โคิด-19 ทำให้ธุรกิจต้องปรับเปลี่ยน เพื่อรับมือกับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะ ร้านค้าหลังโควิด-19 ที่ต้องจับเทรนด์ให้ถูกทาง และปรับธุรกิจรวมถึงการบริการเพื่อรองรับให้สอดคล้องกัน อันจะนำมาซึ่งความอยู่รอด
ทั้งนี้ ข้อมูลจากสมาคมธนาคารไทยประเมินว่าโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศถึง 1.3 ล้านล้านบาท และเมื่อรัฐบาลประกาศผ่อนปรนมาตรการล็อคดาวน์เป็นระยะ ๆ ก็เป็นสัญญาณบวกให้ผู้ประกอบการได้กลับมาเปิดกิจการเพื่อพลิกฟื้นรายได้ โดยยังมีมาตรการ Social Distancing กำกับ
ในวิกฤติยังมีโอกาส เมื่อการใช้ชีวิตดิจิทัลตั้งแต่ Work From Home การซื้อหรือสั่งอาหารออนไลน์ กลายเป็นเรื่องปกติของหลายคน โดยมี 2 องค์ประกอบสำคัญที่กลายเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสังคมวันนี้และอนาคต คือ บริการส่งสินค้า (Delivery) และการรับชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Cashless Payment)
นอกจากนี้ ข้อมูลรายงานจาก Rapyd Asia Pacific 2020 eCommerce and Payment study ยังระบุว่า ประเทศไทยถือเป็นตลาด อีคอมเมิร์ซ ขนาดใหญ่อันดับสองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยช่วงที่ประเทศส่วนใหญ่มีการล็อคดาวน์ (มีนาคม-เมษายน 2563) คนไทยใช้จ่ายผ่านแอปฯ ทรูมันนี่ วอลเล็ท เป็นประจำสูงที่สุดเป็นอันดับหนึ่งที่ 66% รองลงมาคือ cash on delivery อยู่ที่ 60% และ เครดิตการ์ด 55%
ขณะที่ ข้อมูลจาก ทรูมันนี่ เผยให้เห็นว่า มีการเติบโตของการจ่ายเงินเพื่อซื้อของออนไลน์ จากผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซชื่อดังอย่าง Lazada เพิ่มมากขึ้นถึง 40% ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ ETDA ที่ระบุว่า แพลตฟอร์มช็อปปิ้งออนไลน์ มียอดการเข้าใช้บริการเพิ่มขึ้น อย่างก้าวกระโดด สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากขึ้น และลูกค้ามารวมกันอยู่บนโลกออนไลน์แล้ว ส่งผลให้การขายของออนไลน์ทำได้ง่ายขึ้น
ดังนั้น เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้ายุค ดิจิทัล บูม และ ร้านค้าหลังโควิด-19 ก้าวสู่ความสำเร็จได้สะดวกขึ้น ทรูมันนี่ ขอนำเสนอ 4 เคล็ดลับง่าย ๆ มัดใจลูกค้ามาให้ร้านค้าและผู้ประกอบการต่าง ๆ นำไปปรับใช้เป็นแนวทางการค้าขายให้ต่อเนื่อง ดังนี้
- Follow consumer trends จับเทรนด์ผู้บริโภค
ถ้าคนขายไม่สนใจลูกค้าหรือความเป็นไปรอบตัว เช่น การตั้งราคาสินค้าเมื่อเทียบกับของแบบเดียวกันในตลาด ไม่ทำความรู้จักคู่แข่ง โปรโมชั่นไม่มี ของแถมไม่ให้ นั่นเท่ากับเอาธุรกิจไปแขวนอยู่บนเส้นด้ายและเมื่อเกิดวิกฤติก็ทำให้ปรับตัวตามเทรนด์ผู้บริโภคไม่ทัน เพราะเคยชินและยึดติดกับสิ่งเดิม ๆ
ขั้นแรกที่สำคัญสุด สำหรับทุกธุรกิจก็คือ จับเทรนด์ผู้บริโภคให้ได้ และเรียนรู้พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เช่น ปัจจุบันลูกค้าเลือกจ่ายเงินแบบไร้สัมผัสหรือโอนเงินผ่านแอปฯ มากขึ้น ร้านค้าควรหาโซลูชั่นการจ่ายแบบไร้สัมผัสมารองรับเทรนด์นี้ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
- Always Communicate สื่อสารกับลูกค้าผ่านทุกช่องทางอย่างสม่ำเสมอ
การสื่อสาร เป็นหนึ่งในหัวใจหลัก ของการค้าขายและให้บริการในวันนี้ ไม่ว่าธุรกิจเล็กหรือใหญ่ มียอดคนตามบนโซเชียลเรือนแสน แต่ถ้าคุณตอบช้าหรือมีช่องทางการติดต่อที่จำกัด คุณมีโอกาสพลาดลูกค้าที่สนใจซื้อสินค้าและบริการของคุณไปง่าย ๆ เพราะคนซื้อวันนี้ไม่อดทนรอแล้ว
ฉะนั้น เมื่อลูกค้าพบหรือค้นหาร้านคุณเจอ ชมและเลือกสินค้าแล้วก็คาดหวังให้คุณตอบกลับอย่างรวดเร็ว แม้ว่าตอนนั้นจะเป็นเวลาสองทุ่มก็ตาม แต่ถ้าต้องรอให้คุณตอบกลับตอนเช้าถึงจะ cf คอนเฟิร์มการสั่งซื้อได้นั้นก็สายไปแล้ว คนขายที่ตอบสนองคนซื้อได้ครบและเร็วกว่าย่อมได้เปรียบ
การมีช่องทางและการสื่อสารที่ครบและมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นข้อความตอบกลับอัตโนมัติ หรือจะมีผู้ช่วยมาตอบกลับได้อย่างรวดเร็ว จะทำให้คุณปิดการขายได้เห็นผลกว่า
- Be Safe & Hygienic หน้าร้านมีความสะอาด ปลอดภัย มาตรการครบ เอื้อการเว้นระยะห่าง
ข้อมูลจาก WPP เผยว่า 52% คนไทยกังวลด้านสุขภาพ เห็นได้จากการหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ประกันมากขึ้นและ 46% หลีกเลี่ยงการไปซื้อของจากร้านหรือซื้อของแบบ ออฟไลน์ สิ่งเหล่านี้คือความท้าทายที่พ่อค้าแม่ค้าต้องพบในโลก New Normal
เมื่อสถานการณ์คลายล็อคแล้ว ผู้ประกอบการต้องยึดหลักสุขภาพต้องมาก่อน เป็นส่วนหนึ่งในการทำธุรกิจ ดังนั้น การหมั่นทำหน้าร้านให้ลูกค้ามั่นใจ เรื่องความสะอาด จะช่วยดึงดูดลูกค้าให้กลับมาได้เสมอ หรือการสรรหาเมนูสุขภาพมานำเสนอลูกค้า ตลอดจนการจัดส่ง แบบไม่สัมผัส หรือแถมเจลแอลกอฮอล์ล้างมือหรือหน้ากากผ้าให้กับลูกค้า เป็นต้น
- Redesign payment platform เปิดระบบรับ-จ่ายเงินแบบแทนเงินสด ลดสัมผัส
ผลวิจัยจาก VISA สะท้อนให้เห็น new norm การใช้จ่ายของคนไทยวันนี้เป็นอย่างดี โดย 61% ของผู้บริโภคกำลังพัฒนาสกิลการใช้จ่ายแบบไร้เงินสด และ 69% บอกว่าจะไม่กลับไปใช้เงินสดอีกแล้วแม้สถานการณ์โควิดจะดีขึ้นก็ตาม
สอดคล้องกับการที่ห้างร้านต่าง ๆ เพิ่มรูปแบบการชำระเงินแบบ contactless payment เข้าไปในมาตรการความปลอดภัย ดังนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่ใช้ contactless payment มากขึ้น ร้านค้าควรมีแพลตฟอร์มการรับชำระที่เป็นทางเลือกในการลดสัมผัสเงินสดในช่วงนี้ เพื่อปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงจากลูกค้าใหม่ ๆ ได้อีกทาง
นอกจากนี้ การค้าบน “เงินสด” จริง ๆ แล้วมี “ต้นทุนแฝง” นับตั้งแต่การต้องเดินทางไปกดเงินแลกเหรียญเงินทอน การเสียเวลาและเสี่ยงรับจ่ายเหรียญและธนบัตรจากมือลูกค้า จนไปถึงการนับเงินทำบัญชี และเดินทางไปเอาเข้าธนาคาร ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญหาย จะเห็นได้ว่าตรงข้ามกับความสะดวกสบายรวดเร็วของการรับจ่ายแบบไร้สัมผัส ที่ไม่ต้องคอยเสียเวลาและเสี่ยงรับ จ่ายโดยสัมผัสเหรียญและธนบัตร สามารถตรวจสอบทุกการรับ/จ่ายได้ผ่านแอปฯ รวมถึงเอาเข้าบัญชีธนาคารได้แค่ปลายนิ้วผ่านมือถือ
ดังนั้นการค้าขายในยุคดิจิทัลนี้ ควรมีทางเลือกการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แบบไม่ต้องใช้เงินสด ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ธุรกิจได้รับประโยชน์เพิ่มมากขึ้นแล้วยังเป็นการลดต้นทุนพร้อมกับเสริมความปลอดภัยและบริหารจัดการเงินสดได้แบบเรียลไทม์อีกด้วย
โดยสรุปแล้ว ประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกิจการ ยังมีอีกมากมาย แต่ที่สำคัญ ไม่ว่าสถานการณ์ใด ๆ มาตรฐานในการให้บริการ บวกกับ คุณภาพสินค้าต้องมาเป็นอันดับหนึ่งเสมอ ในขณะที่ราคาต้องเอื้อมถึงได้ โดยธุรกิจควรจับกลุ่มลูกค้าให้ได้ และเติมช่องทางเดลิเวอรี่ และการจ่ายเงินแบบไร้สัมผัส เพื่อสอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภควันนี้
อ่านข่าวเพิ่มเติม
Add Friend FollowJuly 11, 2020 at 05:01PM
https://ift.tt/2C3m7Tl
ร้านค้าหลังโควิด-19 ได้เวลาคิดใหม่ ปลดล็อคสร้างรายได้ - thebangkokinsight.com
https://ift.tt/2ZllqOm
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ร้านค้าหลังโควิด-19 ได้เวลาคิดใหม่ ปลดล็อคสร้างรายได้ - thebangkokinsight.com"
Post a Comment