ร้านขายอาหารดูเหมือนจะเป็นทางเลือกในไม่กี่ทางของ คนที่ต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 และต้องออกจากงานประจำ และมาเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง วันนี้ เรามีมุมมองร้านอาหารเล็กๆ ที่แจ้งเกิดจากตลาดนัดกลางคืน ขายนักท่องเที่ยวชาวจีน และต่างชาติ มาดูกันว่าเขาปรับตัว และมีมุมมองในการทำธุรกิจอาหารในช่วงโควิด-19 ตอนนี้อย่างไร
เมื่อ 2สาว นักเคมีโรงงานยา มาขายข้าวผัด
I’m Fried ร้านข้าวผัดธรรมดา ที่เจ้าของออกแบบให้ไม่ธรรมดา เพราะมีเมนูให้เลือกกว่า 30 เมนู ผัดอยู่บนเตาในกระทะเทปังยากิ ผสมผสานระหว่างอาหารไทยและการผัดข้าวในสไตล์ญี่ปุ่น เรียกลูกค้าทั้งคนไทยและต่างชาติให้แวะเวียนมากินกันอย่างไม่ขาดสาย จากการเปิดตัวครั้งแรก ที่ตลาดนัดรถไฟรัชดา
โดยไอเดียดังกล่าว เป็นของ “นางสาวนันท์นภัส เปรมปิยะวัฒน์” และ “นางสาวเพ็ญศรี พึ่งนา” อดีตนักเคมี โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาแห่งหนึ่ง ออกจากการทำงานประจำ เดินตามหาความฝันของตัวเองในการเป็นเจ้าของกิจการ เพราะความกังวลว่า ถ้าจะต้องอยู่กับสารเคมีนานๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพในอนาคตได้
นางสาวนันท์นภัส เล่าว่า สำหรับที่มาของการเปิดร้านข้าวผัด I’m Fried เกิดมาจากความบังเอิญ เพราะตอนออกจากงานประจำช่วงนั้น ไม่ได้ขายข้าวผัด แต่ขายของทอดอยู่ระยะหนึ่งที่ตลาดนัดรถไฟรัชดา แต่การแข่งขันสูง มีร้านอาหารเปิดมากมาย ซึ่งร้านของเราขายของทอดแบบธรรมดาไม่มีจุดขายอะไร จะไปแข่งกับร้านที่ขายอาหารอื่นๆ ได้ยาก ก็เลยต้องกลับมาคิดว่า เราจะขายอะไรที่คนทั่วไปก็กินได้ โดยเฉพาะต่างชาติกินได้ด้วย เพราะในช่วงนั้น นักท่องเที่ยวชาวจีน เดินตลาดนี้เป็นจำนวนมาก
ร้านข้าวผัดธรรมดา ไม่ธรรมดากับสูตรซอสได้เชฟชาวออสเตรเลียช่วยคิด
จนกระทั่งหุ้นส่วน “เพ็ญศรี” ได้ไปรู้จักกับ เชฟชาวออสเตรเลียท่านหนึ่ง ตอนนั้นคิดว่าจะขายข้าวผัด ก็เลยไปขอความช่วยเหลือและเพ็ญศรี กับเชฟ ช่วยกันคิดสูตรน้ำซอสสำหรับทำข้าวผัดออก ที่สามารถนำมาผัดกับเมนูอะไรก็ได้ หลังจากนั้น ก็นำมาผัดกับเมนูข้าวผัดที่คิดออกแบบไว้ ปรากฏว่า สามารถผัดกับเมนูต่างๆ ของเราออกมาได้รสชาติที่ดีเหมือนกัน ไม่ว่าจะใส่วัตถุดิบอะไร เป็นที่มาของข้าวผัดทั้ง 30 เมนู
โดยเมนูข้าวผัดเด่นของทางร้าน ได้แก่ ข้าวผัดสับปะรด ข้าวผัดหมาล่า ข้าวผัดผงกระหรี่ ข้าวผัดปลาหมึกไข่เค็ม ข้าวผัดคั่วกลิ้ง ข้าวผัดต้มยำกุ้งโป๊ะแตก ข้าวผัดต้มยำปลากระป๋อง ฯลฯ จุดขายของข้าวผัดของเรา คือ สามารถทำเมนูต่างๆ ที่ลูกค้าทุกกลุ่มกินได้ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงผู้ใหญ่ และกินง่าย ในราคาสบายกระเป๋า พ่อค้า แม่ค้าในตลาดก็ซื้อกินได้
สาเหตุที่เราต้องมีเมนูข้าวผัดถึง 30 เมนู อันดับแรก คือ สร้างจุดขาย สร้างทางเลือกใหม่สำหรับการกินข้าวผัด และเพื่อเรียกลูกค้าให้มากินข้าวผัดที่ร้าน ที่สำคัญสามารถตอบโจทย์ลูกค้าที่เป็นต่างชาติได้ด้วย เช่น นักท่องเที่ยวจีน รู้จักหมาล่า เราก็มีเมนูหมาล่า เป็นต้น โดยเมนูข้าวผัดของทางร้านเราจะขายเริ่มต้นที่ 45 บาท ไปจนถึง 80 บาท ราคา 80 บาทเมนูเดียว คือ ข้าวผัดสับปะรด แพงสุด เมนูอื่น 45 ถึง 50 บาท
ในส่วนของยอดขายต่อวัน ในช่วงเปิดขายที่ตลาดนัดรถไฟรัชดาในช่วงที่ยังไม่เจอกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ยอดขายของเราอยู่ที่วันละประมาณ 80-100 กล่อง รายได้ต่อวันประมาณ 7,000 บาท ถึง 8,000 บาท ผลตอบแทน กำไรประมาณ 50% และจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นเรื่อยมองเห็นโอกาสในการขยายสาขา ได้มาเปิดสาขาเพิ่มอีกแห่งหนึ่งแห่งที่บ้านเกิดที่จังหวัดนครปฐม หน้ามหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ลูกค้าที่กลุ่มนักศึกษา
ขายอาหาร ถ้ามั่นใจในรสชาติ โควิด-19 ทำอะไรไม่ได้
ตอนนั้น สาขาที่ตลาดนัดรถไฟรัชดา และสาขาใหม่ที่นครปฐมก็กำลังไปได้ดี จนมาเกิดสถานการณ์โรคโควิด-19 ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงัก ร้านที่ตลาดนัดรถไฟรัชดาปิดลง พอกลับมาเปิดใหม่ ลูกค้านักท่องเที่ยวชาวจีน และชาวต่างชาติที่มาเดินชอปปิ้ง หายทั้งหมด สุดท้ายก็ปล่อยร้านให้คนอื่นมาเช่าต่อ และกลับมาทำร้านที่นครปฐม อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยศิลปากร ขายหน้าร้านและขาย ในรูปแบบเดลิเวอรี่ ในช่วงสถานการณ์โควิด ยอดขายออนไลน์ อยู่ในระดับที่พอใจ มียอดขายต่อวัน 40 กล่อง ถึง 60 กล่อง
“ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ตอนนั้น เกิดขึ้นเร็ว หลายร้านที่เปิดตลาดนัดรถไฟ ก็ต้องปรับตัว บางรายสายป่านยาว ก็ยังพออยู่ได้ ยอดขายทุกร้านลดลง แม้ทางตลาดจะลดค่าเช่า แต่รายได้ไม่เข้าก็ทำต่อไม่ได้ บางคนปรับตัวไม่ได้ก็ต้องหยุดกิจการไป เช่นเดียวกับร้านของเราที่ ลูกค้าส่วนใหญ่ พึ่งพานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ พอนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่มา หันมาขายคนไทย ซึ่งต้องแข่งกับร้านอาหารอื่นๆ จำนวนมาก สุดท้ายก็ต้องเลือกปิดกิจการไปก่อนในช่วงนี้ และหันมาดูว่าจะหารายได้จากที่ไหน แต่เรามั่นใจว่า ในความแปลกใหม่และรสชาติอาหารของเราไปได้ ตลาดออนไลน์น่าจะช่วยเราได้ แม้ไม่มากเท่าเดิม แต่รายจ่ายไม่มีประคับประคองตัวเองให้เดินต่อ และมีรายได้เข้ามาบ้าง เพื่อเลี้ยงตัวเองและกิจการให้เดินต่อไป”
การทำตลาดทางช่องทางออนไลน์ ตอนนั้น ไม่ได้ยากมาก เพราะเรามีพื้นฐานการขายออนไลน์แบบเดลิเวอรี่อยู่บ้าง แต่พื้นที่ตั้งของร้าน ซึ่งทำอยู่กับบ้านที่นครปฐม ส่งเฉพาะในพื้นที่ใกล้ๆ บ้าน ลูกค้ามาจากคนรู้จักเคยมากินที่ร้านบ้าง กลุ่มนักศึกษาชอบการสั่งอาหารออนไลน์ รายได้ต่อวันอยู่ในระดับที่พอใจ ถ้าขายดีบางวันขายถึง 4,000 บาท
วิกฤตคนตกงาน เป็นโอกาสของธุรกิจแฟรนไชส์ รีบคว้าไว้
อย่างไรก็ตาม การที่จะพึ่งช่องทางเดลิเวอรี่ ช่องทางเดียวไม่ได้ การจะกลับไปเปิดหน้าร้านใหม่ก็ต้องลงทุน ไม่มั่นใจว่าจะทำรายได้ดีเท่าเดิมไหม และจะไปเปิดที่ไหน แต่สิ่งที่มั่นใจ คือ รสชาติข้าวผัดของเรา เพราะไม่ว่ายอดขายจากหน้าร้านที่เราเคยเปิด หรือ แม้ในช่วงวิกฤตหันมาขายออนไลน์ ในพื้นที่เล็กจังหวัดนครปฐม ก็ยังสามารถขายได้ มีออเดอร์เข้ามาตลอด
ด้วยเหตุนี้เอง จึงคิดจะเปิดขายแฟรนไชส์ เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ ช่วยเหลือคนที่ไม่มีอาชีพ และมองหาอาชีพขายอาหารได้มีอีกหนึ่งตัวเลือก เพราะการคิดสูตรข้าวผัดทั้ง 30 เมนู และถูกใจลูกค้าในทุกเมนู ไม่ได้เรื่องง่าย การที่เราเดินมาถึงจุดนี้ได้ เราก็ได้ผ่านการคิดคำนวณและได้พิสูจน์รสชาติมาแล้วจากลูกค้าว่าไปได้
ทั้งนี้ การตัดสินใจเปิดแฟรนไชส์ในครั้งนี้ ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่า เป็นทางเลือกในการสร้างช่องทางการทำธุรกิจของเราในช่วงสถานการณ์โควิด และอีกเหตุผลหนึ่ง คือ เราก็ต้องการสร้างอาชีพให้กับคนที่มองหาอาชีพใหม่ เพราะช่วงนี้ มีคนกลุ่มหนึ่งตกงาน ไม่มีงานทำเขาอาจจะเลือกขายข้าวผัดของเราและประสบความสำเร็จได้ ในราคาที่ไม่สามารถจับต้องได้ โดยราคาแฟรนไชส์ มี 2 ราคา แบบที่ 1 ราคา 39,900 บาท ได้อุปกรณ์พร้อมรถเข็น 15 รายการ แบบที่ 2 ราคา 55,000 บาท พร้อมเคาน์เตอร์และอุปกรณ์ 15 รายการ หลังจากนั้น ลูกค้าซื้อเพียงน้ำซอสจากเราเท่านั้น
สนใจโทร. 08-9530-2475 FB: I’m Fried Thank you
July 13, 2020 at 08:49AM
https://ift.tt/3ejLyx7
ถอดบทเรียน I'm Fried ข้าวผัด..จุดขายมีเลือก 30 เมนู ขายนักท่องเที่ยว รอดอย่างไรในช่วงโควิด - ผู้จัดการออนไลน์
https://ift.tt/2ZllqOm
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ถอดบทเรียน I'm Fried ข้าวผัด..จุดขายมีเลือก 30 เมนู ขายนักท่องเที่ยว รอดอย่างไรในช่วงโควิด - ผู้จัดการออนไลน์"
Post a Comment